This is an opportunity provided by the Reporting on Trafficking and Slavery programme: Find out more
ทุกวันนี้การค้ามนุษย์ขยายตัวอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าครั้งใดในประวัติศาสตร์ ประเมินกันว่าจำนวนผู้ถูกเอาตัวลงเป็นทาสในปัจจุบันมีจำนวนตั้งแต่ 21 ล้าน คน ถึง 36 ล้าน คน อยู่ในอุตสาหกรรม ที่มีมูลค่ากำไรโดยมิชอบ ด้วยกฎหมายมากกว่า 150 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี อีกทั้งวิกฤตผู้ลี้ภัยระดับโลกทำให้ ประชาชน 68 ล้าน คน พลัดถิ่นฐานสูงเป็นประวัติการณ์ การค้ามนุษย์และการเอาคนลงเป็นทาสในปัจจุบันจึงเป็นหนึ่งในข่าวใหญ่ที่สุดทุกวันนี้ ทว่ารายงานข่าวการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานบังคับจำนวนมากยังติดยึดภาพเหมารวม มายาคติ และ ความเข้าใจผิด ทำให้มักจะขาดความเข้าใจสาเหตุการแพร่หลายและเครื่องมือในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานบังคับที่เหมาะสม
มูลนิธิ ทอมป์สัน รอยเตอร์ (Thomson Reuters Foundation) จัดการอบรมการรายงานข่าวด้านการการค้ามนุษย์ และการเอาคนลงเป็นทาสยุคสมัยใหม่ในระยะเวลา 5 วัน ผ่านระบบออนไลน์ นับเป็นโอกาสพิเศษสำหรับนักสื่อสารมวลชนในประเทศไทยได้เรียนรู้ทักษะและความรู้ในภาคปฏิบัติ พร้อมทำงานตามแนวความคิด การนำเสนอหัวข้อข่าวของตน โดยได้รับคำแนะนำจากนักข่าวมูลนิธิ ทอมป์สัน รอยเตอร์ซึ่งมีประสบการณ์สูง ทั้งยังเป็นโอกาสฟังข้อมูลผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานต่อต้านการค้ามนุษย์
การอบรมเชิงปฏิบัติการผสมผสานความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ โดยเน้นการผลิตข่าวที่สร้างผลกระทบสูง เพื่อการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิ Laudes
ผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการจะได้เรียนรู้ความพยายามในการกำหนดมาตรฐานระดับโลกเพื่อต่อสู้กับการเอาคน ลงเป็นทาสในยุคสมัยใหม่ อนุสัญญาพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือระหว่างประเทศ และพิธีสารใหม่ ๆ ที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย และกำหนดให้ประเทศต่าง ๆ ดำเนินการต่อต้านการเอาคนลงเป็นทาสอย่างจริงจัง
ผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการยังจะได้หารือบทบาทของสื่อมวลชน ในฐานะผู้เพิ่มการรับรู้ เพื่อลดความเสี่ยง และการตรวจสอบให้รัฐบาลมีความรับผิดชอบ การบังคับใช้กฎหมายและภาคธุรกิจ ผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการสามารถสำรวจแนวทางใหม่ ๆ ในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานบังคับ ตลอดจนการรายงานข่าวการโยกย้ายถิ่นฐานและสำรวจความพยายามตอบสนองเชิงนโยบายข้ามพรมแดนแบบบูรณาการ
ประเด็นสำคัญสำหรับการอบรมคือจริยธรรมการรายงานข่าวการเอาคนลงเป็นทาสและการทำงานด้วยความระวังไหวกับผู้รอดชีวิตที่ผ่านประสบการณ์เจ็บปวด การสำรวจและทำงานเพื่อก้าวข้าม ความคิดและภาพเหมารวม ที่นักข่าวเคยเชื่อถือ การอบรมเชิงปฏิบัติการยังครอบคลุมประเด็นความปลอดภัยโดยเฉพาะร่วมทำงานกับแหล่งข่าว และรายงานข่าว เชิงอาชญากรรมที่เกิดขึ้น
เป็นโอกาสนักข่าวจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากนักข่าวท่านอื่น ๆ ที่ทำงานเชิงสืบสวน หรือการรายงานข่าวสดใหม่ไม่ซ้ำใคร ส่งผลต่อเปลี่ยนแปลงนโยบาย กระตุ้นให้ประชาชนเรียกร้องให้เกิดความเปลี่ยนแปลง หรือนำผู้กระทำผิดฐานค้ามนุษย์เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการจะได้พบทั้งผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เผชิญกับปัญหาการขบวนการต่อต้านการเอาคนลงเป็นทาสทาสและวิกฤตการโยกย้ายถิ่นฐาน รวมถึงผู้ที่เคยเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ที่ผันตัวไปช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป ก้าวผ่านจาก “เหยื่อ” เพื่อเป็น “ผู้รอดชีวิต”
• การอบรมจะเป็นการจัดการศึกษาทางไกลผ่านโปรแกรม Zoom
• ผู้เข้าร่วมการอบรมต้องเข้าร่วมห้องเรียนออนไลน์ 4 ชั่วโมงต่อวันในระหว่างการอบรม และทำการบ้านตามที่ได้รับมอบหมายอีก 1-2 ชั่วโมง
ELIGIBILITY
ผู้สมัครจะต้องเป็นนักข่าวทำงานเต็มเวลาหรือนักข่าวที่ส่งข่าวส่งข่าวประจำให้กับองค์กรสื่อมวลชนในประเทศไทย การอบรมเชิงปฏิบัติการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยมีล่ามแปลภาษา ผู้สมัครต้องแสดงความมุ่งมั่นในการทำงาน ด้านสื่อสารมวลชนในประเทศของตน เป็นนักข่าวอาวุโสที่มีประสบการณ์การทำงานระดับวิชาอาชีพอย่างน้อยสามปี มีทักษะการพูดและเขียนภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดี หากเคยเข้าร่วมโครงการอบรมของมูลนิธิ ทอมป์สัน รอยเตอร์ ในสองปีที่ผ่านมาจะไม่มีสิทธิ์สมัคร
FUNDING
มูลนิธิ ทอมป์สัน รอยเตอร์สามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และที่พักสำหรับผู้เข้าร่วมการเดินทางจากนอกกรุงเทพฯ ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม โปรดส่งอีเมล์ ที่ TRFMedia@thomsonreuters.com และ nanchanok.wongsamuth@thomsonreuters.com (นันท์ชนก วงษ์สมุทร์)
SUBMISSIONS
ผู้เข้าร่วมการอบรมต้องสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่มีความเสถียรเพื่อการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ ทั้งนี้ มูลนิธิ ทอมป์สัน รอยเตอร์สามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งสำหรับผู้ที่อาจต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มเติมระหว่างการอบรม
หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม โปรดส่งอีเมล์ ที่ TRFMedia@thomsonreuters.com และ nanchanok.wongsamuth@thomsonreuters.com (นันท์ชนก วงษ์สมุทร์)